ยินดีต้อนรับสู่บล็อกเกอร์ของครูจิ๊บจิ๊บ เอกสังคม มมส

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

พระนามเดิมของพระองค์ เดิมว่า สมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรง สุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร ซึ่งเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียว ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เมื่อเวลา 17 นาฬิกา 45 นาที ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีสมโภชเดือนขึ้นพระอู่ขึ้น ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2495โดยสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงเป็นประธานเจริญพระพุทธมนต์ในเย็นวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2495 เช้าวันรุ่งขึ้น (15 กันยายน) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพระราชภัณฑ์ลงในพระอู่ตามพระราชประเพณี แล้ว พระมหาราชครูเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ฯ ขึ้นพระอู่แล้ว พระบรมวงศานุวงศ์และข้าทูลละอองธุลีพระบาทเวียนเทียนครบรอบตามประเพณี สภาวัฒนธรรมแห่งชาติได้จัดขับไม้มโหรีขับกล่อมถวายพระพรในวาระนี้ด้วย ในการนี้มีการถ่ายทอดเสียงในพระราชพิธีทางวิทยุไปทั่วประเทศ
รัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร

รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพในราชสกุลมหิดลอันเป็นสายหนึ่งในราชวงศ์จักรี ณ โรงพยาบาลเมาต์ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ มลรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา เมื่อวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น 12 ค่ำ ปีเถาะ นพศก จุลศักราช 1289 ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ซึ่งเหตุที่พระราชสมภพในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากพระบรมราชชนกและพระบรมราชชนนีกำลังทรงศึกษาวิชาการอยู่ที่นั่น พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเป็นพระโอรสองค์ที่สามในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ในกาลต่อมา) และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงมีพระนามขณะนั้นว่า พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า เล็กพ.ศ. 2475 เมื่อเจริญพระชนมายุได้สี่พรรษา เสด็จเข้าศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี จนถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2476 จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียนเมียร์มองต์ เมืองโลซานพ.ศ. 2477 เมื่อพระองค์เจ้าอานันทมหิดล พระบรมเชษฐาธิราช เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 8 แห่งราชวงศ์จักรี ก็ทรงได้รับการสถาปนาฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุยเดช
พ.ศ. 2488 ทรงรับประกาศนียบัตรทางอักษรศาสตร์ จากโรงเรียนยิมนาส คลาซีค กังโตนาล แล้วทรงเข้าศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยโลซาน แผนกวิทยาศาสตร์
รัชกาลที่ ๙ แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

รัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร (พระราชสมภพ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 - สวรรคต 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลแบร์ก ประเทศเยอรมนี ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 เป็นพระโอรสในสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมศรีสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็น "สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี") มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช)

รัชกาลที่ ๘ แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2436 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2468 - พ.ศ. 2477)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดช กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา 

              พระราชประวัติ

              พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นโอรสองค์ที่ 76 ทรงเป็นพระโอรสองค์เล็กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงประสูติแด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ นับว่าเป็นพระราชโอรสองค์เล็กสุด ประสูติ เมื่อวันที่ พฤศจิการยน พ.ศ. 2436 ตรงกับวันพุธ แรม 14 คํ่า เดือน 11 ปีมะเส็ง ทรงพระนามเดิมว่า " เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดช กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา 
              เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา พระองค์ได้เข้าศึกษา ในวิทยาลัยทหารบก ณ ประเทศอังกฤษจนจบและได้เสด็จกลับมารับราชการในรัชกาลที่ ซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราชของพระองค์ โดยได้รับยศเป็นนายพันโททหารบกมีตําแหน่งเป็นราชองครักษ์ และผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยชั้นประถม ต่อมาภายหลังได้เลื่อนตําแหน่งเป็นลําดับจนเป็นนายพันเอก มีตําแหน่งเป็นปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ก่อนขึ้นครองราชสมบัติมีตําแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2


รัชกาลที่ ๗ แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


รัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2423 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2453 - พ.ศ. 2468)
มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ 

            พระราชประวัติ

            พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ที่ มกราคม พ.ศ. 2421 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ( สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี ) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ในปี พ.ศ. 2431 และต่อมาในปี พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารดํารงตําแหน่งรัชทายาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ดํารงตําแหน่งรัชทายาทแทน

รัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2396 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2411 - พ.ศ. 2453)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ 

พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า " เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ " เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ กับสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี ( สมเด็จพระนางรําเพยภมรภิรมย์ ) พระองค์ประสูติเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 ตรงกับวันอังคาร แรม คํ่า เดือน 10 ได้ทรงรับสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ และกรมขุนพอนิจประชานาถ
             ด้านการศึกษา พระองค์ทรงได้รับการศึกษาเป็นมาอย่างดี คือ ทรงศึกษาอักษรศาสตร์ โบราณราชประเพณี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยรัฐประศาสนศาสตร์ วิชากระบี่ กระบอง วิชาอัศวกรรม วิชามวยปลํ้า การยิงปืนไฟ เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา ได้ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติโดยมีสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สําเร็จราชการ พ.ศ. 2410 พระเจ้านโปเลียนที่ แห่งฝรั่งเศส ได้ส่งพระแสงกระบี่มาถวาย ครั้นพระชนมายุครบที่จะว่าราชการได้ พระองค์จึงได้ทรงทําพิธีราชาภิเษกใหม่อีกครั้งหนึ่ง เมื่อ พ.ศ. 2416 ทําให้เกิดผลใหญ่ ข้อ 
1. ทําให้พวกพ่อค้าชาวต่างประเทศหันมาทําการติดต่อกับพระองค์โดยตรง เป็นการปลูกความนิยมนับถือกับชาวต่างประเทศได้เป็นอย่างดีเยี่ยม
2. ทําให้พระองค์ มีพระราชอํานาจที่จะควบคุมกําลังทหารการเงินได้โดยตรงเป็นได้ทรงอํานาจในบ้านเมืองโดยสมบูรณ์

พระราชประวัติพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 5



รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระชนมายุได้ 37 พรรษา 
พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2347 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2393 - พ.ศ. 2411)
มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา 

พระราชประวัติ

             พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระราชโอรส ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับสมเด็จพระศรีสุริเยนทรา บรมราชินี ประสูติเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 ตรงกับปีชวด มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ามหามาลา ขณะนั้นพระราชบิดายังดัารงพระยศเป็นเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร เมื่อทรงพระเยาว์ได้ทรงศึกษาอักขะสมัยกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อพระชนมายุได้ พรรษา ได้รับสถาปนาเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎ มีพระราชอนุชาร่วมพระราชมารดา คือ เจ้าฟ้าจุธามณี ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
             เมื่อพระชนมายุได้ พรรษา สมเด็จพระบรมชนกนาถก็โปรดให้มีการพระราชพิธีลงสรง ( พ.ศ. 2355 ) เป็นครั้งแรกที่กระทําขึ้นในกรุงรัตนโกสินทร์ ได้รับพระราชทานนามจารึกในพระสุพรรณปัฎว่า " สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามงกุฎสมมุติเทววงศ์พงศ์อิสรค์กษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร " สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎฯ ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อวันที่ เมษายน พุทธศักราช 2394 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" เรียกขานในหมู่ชาวต่างชาติว่า "คิงส์มงกุฎ" ขณะที่พระองค์ขึ้นเสวย สิริราชย์สมบัตินั้น พระชนมายุ 37 พรรษา
             เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ( พระนามเดิมเจ้าฟ้าจุธามณีโอรสองค์ที่ 50 ของรัชกาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ) ขึ้นเป็นสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีฐานะเสมือนพระเจ้าแผ่นดินอีกพระองค์หนึ่ง

พุทธประวัติ รัชกาลที่ ๔


รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าหัวอยู่

พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
(ประสูติ พ.ศ. 2330 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2394)
มีพระนามเดิมว่า พระองค์ชายทับ
มีพระนามเดิมว่า ฉิม

             

 พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดาเรียม ) ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน แรม 10 คํ่า ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 มีพระนามเดิมว่า "พระองค์ชายทับ"
             พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระสามัญญานามว่า "เจ้าสัว"
             ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชการที่ ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ ( พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ โดยตรง ส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี คงมีแต่เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอม 
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น คํ่า เดือน ปีวอกฉศก มี


พระราชประวัติรัชกาลที่ 3



รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย


พระราชประวัติรัชกาลที่ 2 แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
(ประสูติ พ.ศ. 2310 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2353 - พ.ศ. 2367)
มีพระนามเดิมว่า ฉิม
พระราชประวัติ
              พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงประสูติเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2310 ตรงกับวันพุธ ขึ้น คํ่า เดือน ปีกุน มีพระนามเดิมว่า "ฉิม" พระองค์ทรงเป็นพระบรมราชโอรสองค์ที่ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและกรมสมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ประสูติ ณ บ้านอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม ขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เป็นหลวงยกกรับัตรเมืองราชบุรี พระบิดาได้ให้เข้าศึกษากับสมเด็จพระวันรัต ( ทองอยู่ ) ณ วัดบางหว้าใหญ่ พระองค์ทรงมีพระชายาเท่าที่ปรากฎ 
1. กรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระอัครมเหสี
2. กรมสมเด็จพระศรีสุราลัย พระสนมเอก ขณะขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2352 มีพระชนมายุได้ 42 พรรษา 
             พระราชกรณียกิจที่สําคัญ 
พ.ศ. 2317 ขณะที่เพิ่งมีพระชนมายุได้ พรรษา ได้ติดตามไปสงครามเชียงใหม่ อยู่ในเหตุการณ์ครั้งที่บิดามีราชการไปปราบปรามเมืองนางรอง นครจําปาศักดิ์ และบางแก้ว ราชบุรี จนถึงอายุ 11 พรรษา
พ.ศ. 2322 พระราชบิดาไปราชการสงครามกรุงศรีสัตนาคนหุต ก็ติดตามไป
พ.ศ. 2323 พระชนมายุ 13 พรรษา ได้เข้าเป็นศิษย์สมเด็จพระวันรัต (ทองอยู่ )
พ.ศ. 2324 พระราชบิดาได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ ไปร่วมปราบปรามเขมรกับพระบิดา
พ.ศ. 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ปราบดาภิเษกแล้วได้ทรงสถาปนาขึ้นเป็น "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร"
พ.ศ. 2329 พระชนมายุ 19 พรรษา ได้โดยเสด็จสมเด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามตําบลลาดหญ้า และทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ
พ.ศ. 2330 ได้โดยเสด็จพระบรมชนกนาถ ไปสงครามที่ตําบลท่าดินแดง และตีเมืองทวาย
พ.ศ. 2331 ทรงผนวชเป็นพระภิกษุในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกที่อุปสมบทในวัดนี้ เสด็จไปจําพรรษา เมื่อครบสามเดือน ณ วัดสมอราย ปัจจุบันคือวัดราชาธิราช ครั้นทรงลาผนวชในปีนั้น ทรงอภิเษกสมรสกับสมเด็จเจ้าหญิงบุญรอด พระธิดาในพระพี่นางเธอ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงกรมพระศรีสุดารักษ์
พ.ศ. 2336 โดยเสด็จพระราชบิดาไปตีเมืองทวาย ครั้งที่ 2
พ.ศ. 2349 ( วันอาทิตย์ เดือน ขึ้น คํ่า ปีขาล ) ทรงพระชนมายุได้ 40 พรรษาได้รับสถาปนาเป็น "กรมพระราชวังบวรสถานมงคล" ซึ่งดํารงตําแหน่งพระมหาอุปราชขึ้นแทน กรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท ที่ได้สวรรคตแล้วเมื่อ พ.ศ.2346


รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช



พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช(ประสูติ พ.ศ. 2279 ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2325 - พ.ศ. 2352)
มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง  

พระราชประวัติ

   พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี
ทรงพระนามเต็มว่า
  " พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์
  ธรณินทราธิราชรัตนากาศภาสกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตน
  ชาติอาชาวศรัย สมุทัยวโรมนต์สกลจักรฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทรหริหรินทรธาดาธิ
  บดี ศรีสุวิบุลยคุณธขนิษฐ์ ฤทธิราเมศวรมหันต์บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพา
  ดิเทพนฤดินทร์ภูมินทรปรามาธิเบศร โลกเชฎฐวิสุทธิ์รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร
  บรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว "

               ทรงประสูติเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 พระราชบิดาทรงพระนามว่า ออกอักษรสุนทร
 ศาสตร์ พระราชมารดาทรงพระนามว่า ดาวเรือง มีบุตรและธิดารวมทั้งหมด คน คือ
               คนที่ เป็นหญิงชื่อ "สา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี )

               คนที่ เป็นชายชื่อ "ขุนรามนรงค์" ( ถึงแก่กรรมก่อนที่จะเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าครั้งที่ 2 )

               คนที่ เป็นหญิงชื่อ "แก้ว" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอกรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์ )

               คนที่ เป็นชายชื่อ "ด้วง" (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช )

               คนที่ เป็นชายชื่อ "บุญมา" ( ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท สมเด็จพระอนุชาธิราช )
               เมื่อเจริญวัยได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าอุทุมพร
               พระชนมายุ 21 พรรษา ออกบวชที่วัดมหาทลาย แล้วกลับมาเป็นมหาดเล็กหลวงในแผ่นดินพระเจ้าอุทุมพร
               พระชนมายุ 25 พรรษา ได้รับตัวแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตร ประจําเมืองราชบุรีในแผ่นดินพระที่นั่งสุริยามรินทร์ พระองค์ได้วิวาห์กับธิดานาค ธิดาของท่านเศรษฐี
ทองกับส้ม
              พระชนมายุ 32 พรรษา ในระหว่างที่รับราชการอยู่กับพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้เลื่อน
ตําแหน่งดังนี้
              พระชนมายุ 33 พรรษา พ.ศ. 2312 ได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ เมื่อพระเจ้า
กรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพิมาย
              พระชนมายุ 34 พรรษา พ.ศ. 2313 ได้เลื่อนเป็นพระยายมราชที่สมุหนายก
เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีไปปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง
              พระชนมายุ 35 พรรษา พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาจักรี เมื่อคราวเป็น
แม่ทัพไปตีเขมรครั้งที่ 2
              พระชนมายุ 41 พรรษา พ.ศ. 2321 ได้เลื่อนเป็นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก
เมื่อคราวเป็นแม่ทัพใหญ่ไปตีเมืองลาวตะวันออก
              พ.ศ. 2323 เป็นครั้งสุดท้ายที่ไปปราบเขมร ขณะเดียวกับที่กรุงธนบุรีเกิดจลาจล
จึงเสด็จยกกองทัพกลับมากรุงธนบุรี เมื่อ พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงปราบปราม
เสี้ยนหนามแผ่นดินเสร็จแล้วจึงเสด็จขึ้นครองราชสมบัติปราบดาภิเษก แล้วได้มี
พระราชดํารัสให้ขุดเอาหีบพระบรมศพของพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นตั้ง ณ เมรุวัดบาง
ยี่เรือพระราชทานพระสงฆ์บังสุกุลแล้วถวายพระเพลิงพระบรมศพ เสร็จแล้วให้มี
การมหรสพ

รัชกาลที่ 1 และการสร้างกรุงเทพ